ตามรอยแม่หญิงการะเกด! เที่ยวลพบุรี ชมที่เที่ยวอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์
พระปรางค์สามยอด เป็นโบราณสถานและ
แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี
ลักษณะเป็นปราสาทขอมในศิลปะบายน - พนันออนไลน์
โครงสร้างเป็นศิลาแลงประดับปูนปั้น
สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 - ประมาณ 1757)
เพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้หรือลพบุรี
ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรขอม
แต่เดิมภายในปราสาทประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง
ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวรสี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปพระนางปรัชญาปารมิตาสองกร
ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง
จังหวัดลพบุรี บนเนินดินด้านตะวันตกของทางรถไฟ ใกล้กับศาลพระกาฬ
เป็นปราสาทศิลาแลงแบบขอมเรียงต่อกัน 3 องค์ เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสัน
ภายในบริเวณนอกจากปราสาททั้ง 3 องค์นี้แล้ว
ทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานมีการต่อเติมวิหารก่ออิฐถือปูนเชื่อมต่อกับปราสาทประธานเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
(ครองราชย์ พ.ศ. 2199 -2231)
ซึ่งถือว่าเป็นปราสาทขอมโบราณที่เต็มเปี่ยมไปด้วยศิลปะและวัฒนธรรมแบบขอมโบราณที่ยังคงสมบูรณ์และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์มาจนถึงทุกวันนี้
พระปรางค์สามยอด
ตั้งอยู่บนเนินดินด้านทิศตะวันตกของทางรถไฟใกล้กับศาลพระกาฬ ตำบล ท่าหิน
อำเภอเมืองลพบุรี มี ลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน 3 องค์
มีฉนวนทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์- สามยอดเป็นศิลปะ เขมรแบบบายน
ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลง หินทรายและตกแต่ง ลวดลายปูน
ปั้นที่สวยงาม ตรงซุ้มประตูเดิมคงมีทับหลัง แต่ที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน คือ
เสาประดับกรอบประตู แกะ สลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว
ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมร แบบ บายนปรางค์องค์กลางมีฐาน
แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็น ดอก จันทน์สีแดง
ด้านหน้าทางทิศตะวันออก มีวิหารสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ประดิษฐาน พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ปางสมาธิที่สมบูรณ์ดี
เป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษ ที่ 20 พระปรางค์สามยอดนี้
มีผู้สันนิษฐานว่า คงสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ปรางค์องค์กลาง
ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก องค์ขวาประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
องค์ซ้ายประดิษฐาน รูปนางปรัชญาปารมิตาหรือนางปัญญาบารมี
ในบริเวณรอบศาลพระกาฬร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่
จึงเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงลิงกว่า 300 ตัว
ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของจังหวัดลพบุรี
กล่าวกันว่าเดิมบริเวณนี้เต็มไปด้วยต้นกร่างขนาดใหญ่ มีลิงอาศัยอยู่
เมื่อมีคนนำอาหารและผลไม้มาแก้บนที่ศาล
กาฬ ลิงป่าเหล่านั้นได้เข้ามากินอาหาร
จึงเชื่องและคุ้นเคยกับคนมากขึ้น
โดยมีตำนานเกี่ยวกับลิงลพบุรีว่าเป็น ลิงสามก๊ก
(ฉบับลพบุรี) คือมีถิ่นอาศัยและหากินอยู่ใกล้กัน แต่กลับไม่ถูกกัน
ซึ่งแบ่งออกเป็นสามก๊ก คือก๊กแรกจะอยู่ที่ศาลพระกาฬ
ก๊กที่สองจะอยู่ที่พระปรางค์สามยอด ก๊กที่สามจะอยู่บริเวณอาคารและตึกร้านค้าต่าง ๆ
ในตัวเมืองลพบุรีและสถานีรถไฟลพบุรี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น